เช็ค คือ ตราสารซึ่ง
(1) บุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" สั่งให้
(2) "ธนาคาร"
(3) - ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
- ให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่า "ผู้รับเงิน "
โดยเช็คเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสด เราสามารถจำแนกคู่สัญญาออกได้ดังนี้
(1) บุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" สั่งให้
(2) "ธนาคาร"
(3) - ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
- ให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่า "ผู้รับเงิน "
โดยเช็คเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสด เราสามารถจำแนกคู่สัญญาออกได้ดังนี้
1. ผู้สั่งจ่ายเช็ค (Drawer) คือเจ้าของบัญชีกระแสรายวันที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ผู้เขียนสั่งจ่ายหรือออกเช็ค
2. ธนาคาร (Banker) คือธนาคารผู้รับฝากเงินประเภทกระแสรายวันที่ผู้สั่งจ่ายเช็คเปิดบัญชีไว้
3. ผู้รับเงิน (Payee) คือผู้มีสิทธิที่จะขึ้นเงินตามเช็คนั้นในฐานะผู้ทรง(Holder) ทั้งนี้ผู้ทรงอาจมีฐานะเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามที่ปรากฎในเช็คนั้น หรืออาจเป็นผู้รับเงินในฐานะ ผู้รับสลักหลัง หรือในฐานะผู้ถือได้
องค์ประกอบของเช็ค
1.คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
2.คำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
3. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร
4.ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
5.สถานที่ใช้เงิน
6.วันและสถานที่ออกเช็ค
7.ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
ประเภทของเช็ค
1.เช็คเงินสด หรือเช็คจ่ายผู้ถือ (Cash or bearer’s cheque) คือเช็คที่มีคำว่า เงินสด แทนชื่อผู้รับเงิน หรือเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ผู้ที่มีเช็คประเภทนี้สามารถนำเช็คไปเบิกเงินสดจากธนาคารได้ทันที ดังนั้นหากเจ้าของเช็คทำเช็คเงินสดสูญหาย ผู้ใดก็ตามที่เก็บเช็คเงินสดนั้นได้สามารถนำเช็คไปเบิกเงินสดกับธนาคารได้ เนื่องจากเช็คไม่ได้มีการขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ”
2. เช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือเช็คจ่ายตามสั่ง (Order’s cheque) คือเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” เช้คประเภทนี้ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับเงินจะต้องนำเช็คนั้นไปเบิกธนาคารด้วยตัวเองและหากผู้รับเงินต้องการโอนเช็คให้ผู้อื่น ผู้รับเงินต้องทำการสลักหลังเช็คนั้นก่อน
3. แคชเชียร์เช็ค (Cashier’s cheque) คือเช็คที่บุคคลต้องนำเงินสดมาซื้อเช็คกับธนาคารแล้วธนาคารจะออกแคชเชียร์เช็คให้โดยคิดค่าธรรมเนียมด้วย และธนาคารจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินตามที่ระบุไว้ในเช็คนั้น
** แต่แคชเชียร์เช็คบุคคลจะนำเงินสดไปซื้อแคชเชียร์เช็คกับธนาคารก่อนและธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน ดังนั้นผู้รับแคชเชียร์เช็คจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินแน่นอน
* แคชเชียร์เช็คต่างจากเช็คเงินสด
เช็คเงินสดสั่งจ่ายจากบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายซึ่งผู้รับเงินอาจจะไม่แน่ใจว่าในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีเงินพอจ่ายหรือไม่** แต่แคชเชียร์เช็คบุคคลจะนำเงินสดไปซื้อแคชเชียร์เช็คกับธนาคารก่อนและธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน ดังนั้นผู้รับแคชเชียร์เช็คจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินแน่นอน
4. เช็คที่ธนาคารรับรอง คือเช็คที่บุคคลเขียนสั่งจ่ายแล้วให้ธนาคารรับรองการจ่ายเงินตามเช็คนั้น โดยธนาคารจะเขียนคำว่า “ใช้ได้” หรือ “รับรองจ่าย” หรือ “Good” ลงในเช็คพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจของธนาคาร และธนาคารจะหักเงินออกจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายทันที ซึ่งทำให้ผู้รับมั่นใจได้ว่า จะได้รับเงินแน่นอน ทั้งนี้ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการรับรองเช็คด้วย
5. เช็คเดินทาง เป็นเช็คที่ผู้เดินทางนำหลักฐานการเดินทางมาขอซื้อเช็คเดินทางกับธนาคาร เช็คเดินทางจะช่วยให้ผู้เดินทางไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก เมื่อผู้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆสามารถใช้เช็คเดินทางขึ้นเงินสดจากธนาคารต่างๆ รวมทั้งสามารถใช้เช้คเดินทางชำระค่าสินค้าได้ในร้านค้าที่ยอมรับเช็คเดินทางนั้น
เช็คจะมี 2 ส่วนคือส่วนต้นขั้วและส่วนสำหรับผู้รับเงิน โดยส่วนต้นขั้วเป็นส่วนที่มีไว้ให้ผู้สั่งจ่ายบันทึกรายละเอียดการใช้จ่ายเงิน โดยมีรายละเอียดการจ่ายเงินดังนี้
- วันที่จ่าย
- ผู้รับเช็ค
- จำนวนเงินสั่งจ่าย
- ยอดคงเหลือในบัญชี
ในส่วนของผู้รับเงิน ผู้สั่งจ่ายจะต้องเขียนรายละเอียดให้ครบถ้วนตามคำแนะนำในการใช้เช็คที่มีในสมุดเช็คของธนาคารต่างๆ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคปลีกย่อยสำหรับการใช้เช็ค เช่น
การขีดคร่อมเช็ค หมายถึงการขีดเส้นคู่ขนานบนมุมซ้ายด้านหน้าของเช็ค โดยในการสั่งจ่ายเช็คนั้นผู้สั่งจ่ายจะขีดคร่อมเช็ค หรือไม่ขีดคร่อมเช็คก็ได้
-- โดยกรณีที่ไม่ขีดคร่อมเช็ค ผู้ทรงเช็ค(ผู้ที่มีชื่อรับเงินตามเช็ค) สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินสดได้เลย
-- ในกรณีขีดคร่อมเช็คผู้ทรงเช็คจะไม่สามารถนำเช็คนั้นไปขึ้นเงินสดได้ทันที แต่จะต้องนำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีเงินฝากของตนเองก่อนและต้องรอจนกว่าเช็คนั้นจะเรียกเก็บเงินได้จึงจะถอนเงินสดมาใช้ได้
โดยเช็คขีดคร่อมยังแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทคือ
-- โดยกรณีที่ไม่ขีดคร่อมเช็ค ผู้ทรงเช็ค(ผู้ที่มีชื่อรับเงินตามเช็ค) สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินสดได้เลย
-- ในกรณีขีดคร่อมเช็คผู้ทรงเช็คจะไม่สามารถนำเช็คนั้นไปขึ้นเงินสดได้ทันที แต่จะต้องนำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีเงินฝากของตนเองก่อนและต้องรอจนกว่าเช็คนั้นจะเรียกเก็บเงินได้จึงจะถอนเงินสดมาใช้ได้
โดยเช็คขีดคร่อมยังแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทคือ
- A/C Payee Only หมายถึงโอนเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น
- Not Transferable คือ ห้ามโอน
- Not Negotiable คือห้ามเปลี่ยนมือ
การสลักหลังเช็ค หมายถึง การลงชื่อของผู้ทรงเช็คไว้ด้านหลังของเช็ค เพื่อที่จะโอนเช็คให้กับบุคคลอื่น โดยการสลักหลังเช็คมี 2 ลักษณะคือ
ปัจจุบันนิยมใช้ตราสารการเงินอยู่ 3 แบบคือ (ไม่ค่อยนิยมใช้เช็คเท่าไหร่แล้ว)
-cashier's cheque (c/o)
-demand draft (d/d)
-gift cheque (g/c)
1.cashier's cheque (c/o) วัตถุประสงค์การใช้คือ เพื่อสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินที่มีการระบุชื่อชัดเจน และใช้ขึ้นเงินในเขต Clearing เดียวกัน
- รูปแบบของ c/o เป็นเช็คจ่ายตามคำสั่ง (order cheque) นั่นหมายถึง ต้องระบุชื่อว่าจะต้องการสั่งจ่ายเงินให้ใคร (จ่ายให้ตัวเองก็ได้) ห้ามสั่งจ่าย "เงินสด" เด็ดขาด
- ส่วนจะขีดคร่อมหรือไม่ขีดคร่อมก็ได้
- ค่าธรรมเนียม c/o ฉบับละ 20 บาท จะซื้อ c/o ราคา 10 ล้านบาท หรือราคา 10 บาท ค่าธรรมเนียมก็ 20 บาทเหมือนกันการขึ้นเงินตาม c/o นั้น ผู้มีสิทธิ์(หรือผู้ที่มีชื่อบนหน้า c/o นั่นแหละ) จะต้องขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารที่อยู่ในเขต Clearing (หรือเขตจังหวัดเดียวกัน) ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม* แต่ถ้าไปขึ้นเงินในต่างจังหวัดจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเช็คต่างจังหวัดอีก 0.2% ของจำนวนเงินบนหน้าเช็ค
(หมายเหตุ.- บางจังหวัดมี 2 เขต Clearing เช่นอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร กรุณาสอบถามพนักงานก่อนขึ้นเงินตาม c/o)
2. demand draft (d/d)รูปแบบเหมือน c/o ทุกประการ แต่วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ขึ้นเงินในต่างจังหวัด (หรือต่างเขต Clearing) กับสาขาที่ออก d/d นั้น
เช่น หากอยู่ที่ตจว.ต้องการไปซื้อรถที่ กทม.ไม่ต้องการหอบเงินสดไป หรือไปถอนเงินต่างสาขาที่ กทม.เพราะค่าธรรมเนียมแพง (สูงสุด 1,020 บาท)
- ค่าธรรมเนียม d/d จะแปรผันตามจำนวนเงินที่สั่งซื้อ โดยจะเริ่มที่ หนึ่งหมื่นบาทแรก คิดค่าธรรมเนียม 10 บาท และหมื่นต่อๆ ไป คิดค่าธรรมเนียมหมื่นละ5 บาท (แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าปรับราคาแล้วหรือยัง)
3. gift cheque (g/c)คือเช็คของขวัญ ใช้เนื่องในโอกาสที่จะมอบเงินให้แก่ผู้รับในวาระพิเศษ
- เช่น วันเกิด แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น (เช็คสำหรับงานศพก็มี)
- ค่าธรรมเนียมฉบับละ 15 บาท รูปแบบของ g/c เป็นเช็คผู้ถือ (bearer cheque) นั่นคือที่ถือเช็คสามารถสั่งจ่าย "เงินสด" ได้ทันที
- สำหรับการขึ้นเงินg/c นี้เหมือนกับ c/o คือใช้ขึ้นเงินในเขตจังหวัดเดียวกันกับสาขาที่ออกเช็ค แต่ถ้าไปขึ้นเงินต่างจังหวัด ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 0.2% เหมือนกัน
- เช่น วันเกิด แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น (เช็คสำหรับงานศพก็มี)
- ค่าธรรมเนียมฉบับละ 15 บาท รูปแบบของ g/c เป็นเช็คผู้ถือ (bearer cheque) นั่นคือที่ถือเช็คสามารถสั่งจ่าย "เงินสด" ได้ทันที
- สำหรับการขึ้นเงินg/c นี้เหมือนกับ c/o คือใช้ขึ้นเงินในเขตจังหวัดเดียวกันกับสาขาที่ออกเช็ค แต่ถ้าไปขึ้นเงินต่างจังหวัด ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 0.2% เหมือนกัน
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ซื้อ c/o แล้วนำไปใช้ขึ้นเงินในต่างจังหวัด ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเช็คเรียกเก็บอีกครั้งหนึ่ง
***ค่าธรรมเนียม c/o กับ d/d
1. ต้องการซื้อตราสารราคา 10,000 บาท เพื่อจะจ่ายเงินให้กับผู้รับซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน
c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
d/d เสียแค่ 10 บาท
c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
d/d เสียแค่ 10 บาท
2. ซื้อตราสารราคา 10,000 บาท เพื่อจะจ่ายเงินให้กับผู้รับอยู่ต่างจังหวัด
c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท + ค่าธรรมเนียมเช็คต่างจังหวัด (0.2%) 20 บาท รวม 40 บาทซื้อ d/d เสียแค่ 10 บาท
c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท + ค่าธรรมเนียมเช็คต่างจังหวัด (0.2%) 20 บาท รวม 40 บาทซื้อ d/d เสียแค่ 10 บาท
3. ซื้อตราสารราคา 100,000 บาท เพื่อจะจ่ายเงินให้กับผู้รับซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน
ซื้อ c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
ซื้อ d/d เสีย 55 บาท
ซื้อ c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
ซื้อ d/d เสีย 55 บาท
3. ซื้อตราสารราคา 100,000 บาท เพื่อจะจ่ายเงินให้กับผู้รับอยู่ต่างจังหวัด
c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท + ค่าธรรมเนียมเช็คต่างจังหวัด (0.2%) 200 บาท รวม 220 บาท
d/d เสีย 55 บาท
c/o จะเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท + ค่าธรรมเนียมเช็คต่างจังหวัด (0.2%) 200 บาท รวม 220 บาท
d/d เสีย 55 บาท
ป.ล. ข้อมูลเอาจากหลายๆเวปรวมกัน ทั้งพันทิพ แล้วก้อเวปของอาจารย์ จำไม่ได้ ขออภัยด้วยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น